‘ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์’
ภัยเงียบที่คนไทยไม่รู้ตัว

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) แตกต่างจาก
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) อย่างไร

● ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)
เป็นภาวะที่มีการสูญเสียความสามารถในการทำงานของสมองในหลายๆด้าน
ส่งผลให้มี อาการแสดงออกที่ผิดปกติไปได้ในหลายรูปแบบ ทั้งด้านความจำ ความคิด
การใช้เหตุผล การใช้ภาษา พฤติกรรม และอารมณ์ ร่วมกับการสูญเสีย
ความสามารถใน การดำรงชีวิต ประจำวัน และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในที่สุด

 

● โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
นับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด (ประมาณ 60-70%
 ของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม) เกิดจากความผิดปกติในการกำจัดโปรตีนบางชนิด
ของสมอง ทำให้มีการเสื่อมถอยในการทำงานของสมอง และความผิดปกติด้านโครงสร้าง
ของสมองตามมา โดยช่วงแรกผู้ป่วยจะมีการแย่ลงในเรื่องของความทรงจำ หลังจากนั้น
สามารถพบอาการอื่นๆตามมาได้ ทั้งด้านความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรม ซึ่งก็จะพบ
มีการฝ่อของสมองในส่วนต่างๆนั้นตามมาได้

Rectangle 74

ประเทศไทยมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมกว่า 7 แสนคน และ
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยพบประมาณร้อยละ 6.3% ของผู้สูงวัย
และจะพบได้มากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
อายุ80 ปีขึ้นไป พบได้ 1 ใน 5
อายุ85 ปีขึ้นไป พบได้ 1 ใน 3
อายุ90 ปีขึ้นไป พบได้มากถึง 1 ใน 2

หากคำนวณตามจำนวนผู้สูงวัยในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 จะมีผู้ที่มีภาวะ
สมองเสื่อมมากกว่า 7 แสนคน ซึ่งคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อจำนวน
ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จำนวนผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจเพิ่มขึ้น 2 เท่า
หรือประมาณ 1 ล้าน 4 แสนคน

ภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย
(mild cognitive impairment หรือ MCI)
จุดเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ 

ภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย คือ ภาวะการทำงานของสมองที่เสื่อมถอยลง เช่น การมีปัญหาความจำ หรือ ความสามารถในการเรียนรู้เสื่อมถอยลงเมื่อเทียบกับอดีต การเริ่มหลงทิศทาง ชื่อสิ่งของและชื่อคน จนตนเองและคนรอบข้างเริ่มสังเกตเห็นได้ อาจรวมถึงการทำงานในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปบ้าง แต่ยังคงความสามารถในการ ทำกิจวัตรทั่วไปและดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ

MCI เป็นภาวะที่อยู่ช่วงกลางระหว่างระยะที่ความสามารถของสมอง
เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยเนื่องจากความชรา (normal aging) แต่ยัง
เป็นปกติตามวัยและอาการคงที่ กับระยะที่เข้าสู่การเป็นภาวะสมอง
เสื่อม (dementia)

Rectangle 75
[TS_Advanced_Tables id=”1″ table_formatting=”custom” table_scope=”tablesaw”]

1 ใน 7 ของผู้ที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย(MCI) มีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคอัลไซเมอร์

หากผู้ป่วยหรือคนใกล้ตัวหมั่นสังเกตอาการและไปพบแพทย์เพื่อได้รับการดูแลที่เหมาะสมแต่เนิ่นๆ จะสามารถช่วยชะลอการเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้

Rectangle 74

ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์

สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลาย
ประการ
ที่เพิ่มโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงบางชนิดสามารถที่จะแก้ไข
เพื่อป้องกันหรือ
ลดความเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์ได้

1.อายุ : โรคอัลไซเมอร์จะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ และยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่ง
มีโอกาสพบมากขึ้นอีก

2.พันธุกรรม : ผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือ พี่น้อง เป็นอัลไซเมอร์ ก็จะมีความเสี่ยง
มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติโรคนี้ในครอบครัว

3.ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เช่น การดูแลเรื่องอาหารและ
สารอาหาร
 ระดับการศึกษา และการเรียนรู้ การออกกำลังกาย
งดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่
สารเสพย์ติด โรคในกลุ่มเมตาบอลิก
และการมีสังคม เป็นต้น

การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดอัลไซเมอร์ได้
เพราะสาเหตุหนึ่งของการเกิดอัลไซเมอร์ คือ การที่สมองถูกทำลายจากอนุมูลอิสระหรือการได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ

ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา

‘ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์’ภัยเงียบที่คนไทยไม่รู้ตัว

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) แตกต่างจาก
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) อย่างไร

● ภาวะสมองเสื่อม (Dementia)
เป็นภาวะที่มีการสูญเสียความสามารถในการทำงานของสมองในหลายๆด้าน ส่งผลให้มี อาการแสดงออกที่ผิดปกติไปได้ในหลายรูปแบบ ทั้งด้านความจำ ความคิด การใช้เหตุผล การใช้ภาษา พฤติกรรม และอารมณ์ ร่วมกับการสูญเสีย ความสามารถใน การดำรงชีวิต ประจำวัน และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ในที่สุด

 

● โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
นับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด (ประมาณ 60-70% ของผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม) เกิดจากความผิดปกติในการกำจัดโปรตีนบางชนิดของสมอง ทำให้มีการเสื่อมถอยในการทำงานของสมอง และความผิดปกติด้านโครงสร้างของสมองตามมา โดยช่วงแรกผู้ป่วยจะมีการแย่ลงในเรื่องของความทรงจำ หลังจากนั้น สามารถพบอาการอื่นๆตามมาได้ ทั้งด้านความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรม ซึ่งก็จะพบมีการฝ่อของสมองในส่วนต่างๆนั้นตามมาได้

Rectangle 74

ประเทศไทยมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมกว่า 7 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยพบประมาณร้อยละ 6.3% ของผู้สูงวัยและจะพบได้มากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

อายุ80 ปีขึ้นไป พบได้ 1 ใน 5
อายุ85 ปีขึ้นไป พบได้ 1 ใน 3
อายุ90 ปีขึ้นไป พบได้มากถึง 1 ใน 2

หากคำนวณตามจำนวนผู้สูงวัยในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 จะมีผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมากกว่า 7 แสนคน ซึ่งคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จำนวนผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจเพิ่มขึ้น 2 เท่าหรือประมาณ 1 ล้าน 4 แสนคน

Rectangle 75

ภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (mild cognitive impairment หรือ MCI) จุดเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์ 

ภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย คือ ภาวะการทำงานของสมองที่เสื่อมถอยลง เช่น การมีปัญหาความจำ หรือ ความสามารถในการเรียนรู้เสื่อมถอยลงเมื่อเทียบกับอดีต การเริ่มหลงทิศทาง ชื่อสิ่งของและชื่อคน จนตนเองและคนรอบข้างเริ่มสังเกตเห็นได้ อาจรวมถึงการทำงานในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไปบ้าง แต่ยังคงความสามารถในการ ทำกิจวัตรทั่วไปและดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ

MCI เป็นภาวะที่อยู่ช่วงกลางระหว่างระยะที่ความสามารถของสมองเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยเนื่องจากความชรา (normal aging) แต่ยังเป็นปกติตามวัยและอาการคงที่ กับระยะที่เข้าสู่การเป็นภาวะสมองเสื่อม (dementia)

สาเหตุ – การเสื่อมของเซลล์สมองและระบบประสาทตามอายุที่มากขึ้น

การหลงลืม – ลืมรายละเอียดบางส่วนของเหตุการณ์ (ถ้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมมักจะนึกขึ้นได้แต่อาจไม่สมบูรณ์)

ความสามารถในการตัดสินใจ – ไม่เปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงของอาการ – เปลี่ยนแปลงช้าๆ

ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน – ส่งผลกระทบไม่รุนแรง

สาเหตุ – การเสื่อมของเซลล์สมองและระบบประสาทตามอายุที่มากขึ้น จากหลายสาเหตุ จนทำให้การทำงานของสมองเริ่มผิดปกติ

การหลงลืม – มักบ่นว่าตนเองขี้ลืม ลืมเหตุการณ์บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน ยังคงดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

ความสามารถในการตัดสินใจ – ส่วนมากยังไม่เปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงของอาการ – สามารถเปลี่ยนแปลงแย่ลงหรือดีขึ้นได้

ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน – มีการเปลี่ยนแปลงได้ อาจเริ่มมีผลกระทบเล็กน้อย แต่ยังคงทำกิจกรรมในการดำรงชีวิตได้เป็นปกติ

สาเหตุ – มีการเสื่อมของสมองโดยเกิดจากการกำจัดโปรตีนของสมองที่ผิดปกติ และกระบวนการอักเสบ ที่เพิ่มมากขึ้น โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการดำเนินไปของโรค

การหลงลืม – ลืมเหตุการณ์ที่เป็นเรื่องสำคัญในชีวิต (ไม่สามารถระลึกถึงเหตุการณ์นั้นได้แม้จะมีการบอกใบ้แล้ว)

ความสามารถในการตัดสินใจ – เปลี่ยนแปลงแย่ลงตามระยะของโรค

การเปลี่ยนแปลงของอาการ – มีอาการแย่ลงมากขึ้นตามลำดับ

ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน – ส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันและรบกวนการดำรงชีวิต

1 ใน 7 ของผู้ที่มีภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) มีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคอัลไซเมอร์

หากผู้ป่วยหรือคนใกล้ตัวหมั่นสังเกตอาการและไปพบแพทย์เพื่อได้รับการดูแลที่เหมาะสมแต่เนิ่นๆ จะสามารถช่วยชะลอการเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้

Rectangle 74

ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์

สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ
ที่เพิ่มโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงบางชนิดสามารถที่จะแก้ไขเพื่อป้องกันหรือ
ลดความเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์ได้

1. อายุ : โรคอัลไซเมอร์จะพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ และยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสพบมากขึ้นอีก

2. พันธุกรรม : ผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือ พี่น้อง เป็นอัลไซเมอร์ ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติโรคนี้ในครอบครัว

3. ปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ เช่น การดูแลเรื่องอาหารและสารอาหาร ระดับการศึกษา และการเรียนรู้ การออกกำลังกาย งดการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ สารเสพย์ติด โรคในกลุ่มเมตาบอลิก และการมีสังคม เป็นต้น

การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการเกิดอัลไซเมอร์ได้ เพราะสาเหตุหนึ่งของการเกิดอัลไซเมอร์ คือ การที่สมองถูกทำลายจากอนุมูลอิสระหรือการได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ

ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา