‘โรคอัลไซเมอร์’ คือ ‘โรคครอบครัว’

  ไม่ได้มีผลกระทบแค่ต่อผู้ป่วยเท่านั้น
  แต่ยังมีผลกระทบต่อผู้ดูแลและคนรอบข้างด้วย

ผลกระทบจากโรคอัลไซเมอร์มากกว่าแค่หลงลืม

● สูญเสียความจำ ทำให้ผู้ป่วยถามเรื่องเดิมซ้ำๆ
● สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแลและครอบครัว
● มีอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติที่พบได้บ่อย เช่น
เฉยเมยไม่สนใจต่อสิ่งรอบตัว (พบร้อยละ 70),
ภาวะซึมเศร้า (พบร้อยละ 50)
ปัญหาด้านการรับประทานอาหารและการนอนหลับ (พบร้อยละ 50)
อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย (พบร้อยละ 40)

ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์…คือผู้ป่วยที่ถูกมองข้าม

● พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยมักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว โดยร้อยละ 50 เป็นบุตร
และร้อยละ 5-11 เป็นคู่สมรส

● การไม่เข้าใจในโรคอัลไซเมอร์และเทคนิคการดูแลที่ถูกต้อง ย่อมจะส่งผล
กระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ดูแล หากไม่สามารถปรับตัวในการ
ให้การดูแล โดยเฉพาะปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะ
ทำให้ผู้ดูแลเกิดความทุกข์ทรมานใจ และกลายเป็นผู้ป่วยที่ถูกมองข้ามไปได้

● ผู้ดูแลกว่า 1 ใน 3 มีปัญหาซึมเศร้า และ 1 ใน 10 พบการป่วยเป็นโรควิตกกังวล

ดังนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์
ทั้งมีความเข้าใจในการดูแลอาการแสดงต่างๆ และพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม

“ อยู่กับอัลไซเมอร์ แบบมีความสุขก็ทำได้ “

เทคนิคการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้านอย่างมีความสุข

เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ

ชะลอการเสื่อมถอยของความสามารถสมอง และอาการแสดงให้ช้าลง
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถคงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และคงความสามารถในการดูแลตัวเองให้เหมาะสมในแต่ละระยะของโรค
ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัวให้อยู่ได้อย่างมีความสุข

เทคนิคการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เบื้องต้นที่บ้าน

 

1. ส่งเสริมการทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยคงความสามารถในการ
ดูแลตนเองให้ได้นานมากขึ้น

● กิจกรรมการอาบน้ำ การทำความสะอาดร่างกาย จัดเตรียมอุปกรณ์ที่คุ้นเคย
ไม่ซับซ้อน บอกขั้นตอนช้าๆ มีการบอกก่อนทำกิจกรรม เตรียมสถานที่ให้เหมาะสม
ปลอดภัย ไม่ลื่น มีเก้าอี้นั่ง เตรียมน้ำที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ระวังเรื่องความรู้สึก
เขินอายเวลาต้องถอดชุด

● กิจกรรมการรับประทานอาหาร จัดเตรียมปริมาณอาหารให้พอดีในแต่ละมื้อ
ระวังไม่ให้อาหารร้อนจัดเกินไป อาหารสุกสะอาด เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย ได้รับ
สารอาหารครบถ้วน บางครั้งอาจรับประทานมื้อละน้อยๆแต่ถี่มากขึ้นได้ ไม่ตำหนิ
หากทานเลอะเทอะ จัดเตรียมบรรยากาศในการรับประทานอาหารให้ดีตามที่ผู้ป่วย
เคยชอบ อาจใช้เครื่องตกแต่งที่มีสีสัน มีการเปิดเพลง หรือทำให้สนุกสนาน
หากเป็น
ไปได้ควรจัดเวลาของครอบครัวให้ได้มีโอกาสรับประทานอาหารร่วมกันบ้าง

● พยายามจัดตารางทำกิจวัตรประจำวัน อาบน้ำ ขับถ่าย ทานอาหาร เข้านอน
ที่สม่ำเสมอ และเหมาะกับวิถีชีวิตของผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้สิ่งที่ต้องทำ
ทีละนิด ลดการสับสน ให้รู้สึกเป็นเรื่องสบายๆ ปรับเปลี่ยนได้ในบางครั้งตาม
ความเหมาะสม
ของสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น

2. ช่วยเหลือด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา

● เมื่อจะเริ่มพูดคุย ใช้เสียงที่ดังเพียงพอและนุ่มนวล ควรลดเสียงรบกวน
อื่นๆ เช่น ปิดโทรทัศน์ (ขออนุญาตผู้ป่วยก่อน) เรียกความสนใจผู้ป่วยโดย
สัมผัสมือหรือต้นแขน อยู่ด้านหน้าผู้ป่วยหรือบริเวณที่เห็นได้ง่าย รักษา
ระดับใบหน้าให้เท่าๆกันเพื่อให้ผู้ป่วยกำหนดตำแหน่งเจ้าของเสียงได้ง่าย

● ระหว่างการสนทนา อาศัยการสบตา หรือใช้การสัมผัสโดยอาจกุมมือผู้ป่วย
ไว้เพื่อให้ผู้ป่วยมีสมาธิ บางครั้งอาจต้องพูดอธิบายซ้ำ ให้รู้สึกเป็นเรื่องปกติ
เลือกใช้ข้อความสั้นๆ เข้าใจง่าย พูดคุยทีละหัวข้อ อธิบายทีละขั้นตอน
ไม่ปนหลายเรื่อง ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล และสังเกตท่าทางของผู้ป่วยไปด้วยว่า
รับรู้เข้าใจหรือไม่ไปด้วย

3. ลดความกังวลและความเครียดของผู้ป่วย

● ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และฝึกการรับรู้สิ่งรอบตัว เช่น กำลังอยู่ที่ไหน
เป็นวัน เวลาอะไร ได้รับประทานอาหารหรือยัง เพื่อลดการสับสนที่อาจจะ
เกิดขึ้นในบางครั้ง

● จัดวางสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้ประจำไว้ที่เดิมที่คุ้นเคย สามารถหยิบใช้งานได้สะดวก

● ทำกิจกรรม ชวนดูรูปสมาชิกในครอบครัว หรือการท่องเที่ยวในอดีต ที่ทำให้มี
ความสุข พร้อมกับกระตุ้นให้นึกชื่อหรือสถานที่ ผู้ดูแลควรทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อาจใช้เวลานึกคำตอบซึ่งเป็นการฝึกสมองให้ไปหาข้อมูล แต่หากดูยุ่งยากมากเกินไป
ควรให้คำใบ้ หรือเปลี่ยนเรื่องไปเลยก็ได้

● เล่นดนตรี ร้องเพลง การสวดมนต์ และการทำกิจกรรมใหม่ๆ ก็เป็นอีกวิธีในการ
ช่วยฝึกกระตุ้นความจำได้

● ชักชวนในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ พยายามพิจารณาจากวิถีชีวิต อาชีพ
และสิ่งที่ชอบมาทำ เช่น การเตรียมอาหาร ทำความสะอาดง่ายๆ เดินเล่นนอกบ้าน
ชมสวนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ เพื่อให้ผู้ป่วยสดชื่น และยังส่งเสริมการมีกิจกรรม
ในครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าและอบอุ่น

4. จัดการกับพฤติกรรมอารมณ์ต่าง ๆ ที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ
ปัญหาการกิน  การนอนเปลี่ยนแปลง  อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เกรี้ยวกราด
โดยใช้หลักการ 4 บ ได้แก่

บอกเล่า เช่น ผู้ป่วยก้าวร้าว ให้บอกหรืออธิบายผู้ป่วยโดยใช้น้ำเสียง
นุ่มนวล สบายๆ
บอกซ้ำ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พูดช้า ๆ ที่ละขั้นตอน ด้วยความเข้าใจ
เบี่ยงเบน  ไปในเรื่องอื่น หรือกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ โดยไม่ต้องโต้เถียง
แม้ว่าผู้ป่วยจะเข้าใจผิด เช่น พาออกไปนั่งรถเล่นจะทำให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีขึ้น
หรืออาจใช้วิธีการตามน้ำในระยะแรก แล้วค่อยเบี่ยงเบนให้ผู้ป่วยทำเรื่องอื่น
ต่อไป
แบ่งเบา/บำบัด  เช่น ใช้วิธีนวดเพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ให้ผู้ป่วยทำ
กิจกรรมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เปลี่ยนสิ่งกระตุ้น
และบรรยากาศให้ดี

5. การดูแลเมื่อมีอาการแทรกซ้อนทางจิตเวช

อาการหวาดระแวง เช่น ระแวงว่ามีคนในบ้านขโมยของ หรือปองร้าย ผู้ดูแลต้อง
เข้าใจว่าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ได้ และเป็นจากโรค จึงไม่ควร
โต้เถียง แต่ช่วยผู้ป่วยหาของที่คิดว่าถูกขโมยไป หรือเปลี่ยนแปลงความสนใจไปเรื่อง
ที่น่าสนใจเรื่องอื่น

อาการประสาทหลอน เช่น เห็นคนที่เสียชีวิตแล้วมาเยี่ยม หรือได้ยินเวียงแว่ว
ควรลองหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ไม่ชัดเจน ที่จะทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย เช่น
กระจก รูปปั้น รูปคน ลองวิเคราะห์หาสาเหตุ เช่น การนอนผิดปกติ ผลข้างเคียง
จากยา และ
การขาดน้ำ เป็นต้น หากยังคงผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ดูแล

6. การดูแลโรคประจำตัวอื่น ๆ

(ถ้าผู้ป่วยมีโรคร่วมด้วย) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
ให้พยายามควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี ดูเรื่องการทานยาและการติดตามอาการอย่าง
สม่ำเสมอ เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง
กว่าเดิม

7. อาหาร ผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะ
สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
สารอาหารที่มีการศึกษาว่ามีประโยชน์ต่อการสร้างเสริมการเชื่อมต่อเซลล์ประสาท
และการทำงานของสมอง เช่น

กลุ่มไขมันโอเมก้า3 ที่เป็นโครงสร้างหลักของสมอง
โคลีน มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างเซลล์สมองและการทำงานของสารสื่อประสาท
วิตามินบี และ กรดโฟลิก ช่วยในการทำงานของระบบประสาท
สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันสมองจากอนุมูลอิสระ

8. การออกกำลังกาย และการฝึกเคลื่อนไหวร่างกาย

ผู้ป่วยควรทำการฝึกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้คงความแข็งแรงของร่างกาย
และจะทำให้สามารถใช้ส่วนต่างๆของร่างกายได้นานมากขึ้น ผู้ดูแลสามารถช่วย
ให้ผู้ป่วยฝึกเคลื่อนไหวทั่วไป และอาจติดตั้งราวสำหรับยึดเกาะ เพื่อช่วยในการเดิน
การลุกยืน และการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง

9. ป้องกันก่อนเกิดปัญหา

● จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย วางของให้เป็นระเบียบ
วางในที่เดิมที่ผู้ป่วยคุ้นชิน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ

● จัดเก็บของมีคม ไม่ขีด ไฟแช็ค ไว้ในที่มิดชิด
● จัดเตรียมรูปของผู้ป่วยที่ถ่ายไว้ล่าสุดเพื่อใช้ติดตามกรณีผู้ป่วย
สูญหายควรให้ผู้ป่วยพกกระดาษ หรือสร้อยคอ/ข้อมือ ที่ช่วยบอก
ว่าผู้สูงวัยมีปัญหา ด้านความจำ ระบุหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อ
กลับและข้อมูลตามความเหมาะสม

ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา

‘โรคอัลไซเมอร์’ คือ ‘โรคครอบครัว’

ไม่ได้มีผลกระทบแค่ต่อผู้ป่วยเท่านั้น
แต่ยังมีผลกระทบต่อผู้ดูแลและคนรอบข้างด้วย

ผลกระทบจากโรคอัลไซเมอร์มากกว่าแค่หลงลืม

● สูญเสียความจำ ทำให้ผู้ป่วยถามเรื่องเดิมซ้ำๆ
● สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแลและครอบครัว
● มีอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติที่พบได้บ่อย เช่น เฉยเมยไม่สนใจต่อสิ่งรอบตัว (พบร้อยละ 70), ภาวะซึมเศร้า (พบร้อยละ 50) ปัญหาด้านการรับประทานอาหารและการนอนหลับ (พบร้อยละ 50) อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย (พบร้อยละ 40)

ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์…คือผู้ป่วยที่ถูกมองข้าม

● พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยมักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว โดยร้อยละ 50 เป็นบุตรและร้อยละ 5-11 เป็นคู่สมรส

● การไม่เข้าใจในโรคอัลไซเมอร์และเทคนิคการดูแลที่ถูกต้อง ย่อมจะส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ดูแล หากไม่สามารถปรับตัวในการให้การดูแล โดยเฉพาะปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปก็จะทำให้ผู้ดูแลเกิดความทุกข์ทรมานใจ และกลายเป็นผู้ป่วยที่ถูกมองข้ามไปได้

● ผู้ดูแลกว่า 1 ใน 3 มีปัญหาซึมเศร้า และ 1 ใน 10 พบการป่วยเป็นโรควิตกกังวล

 

ดังนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ทั้งมีความเข้าใจในการดูแลอาการแสดงต่างๆและพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม

“อยู่กับอัลไซเมอร์ แบบมีความสุขก็ทำได้“

เทคนิคการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้านอย่างมีความสุข

เป้าหมายของการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ

ชะลอการเสื่อมถอยของความสามารถสมอง และอาการแสดงให้ช้าลง
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถคงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และคงความสามารถในการดูแลตัวเองให้เหมาะสมในแต่ละระยะของโรค
ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และสมาชิกในครอบครัวให้อยู่ได้อย่างมีความสุข

เทคนิคการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์เบื้องต้นที่บ้าน

1. ส่งเสริมการทำกิจวัตรประจำวัน เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยคงความสามารถในการดูแลตนเองให้ได้นานมากขึ้น

● กิจกรรมการอาบน้ำ การทำความสะอาดร่างกาย จัดเตรียมอุปกรณ์ที่คุ้นเคย ไม่ซับซ้อน บอกขั้นตอนช้าๆ มีการบอกก่อนทำกิจกรรม เตรียมสถานที่ให้เหมาะสม ปลอดภัย ไม่ลื่น มีเก้าอี้นั่ง เตรียมน้ำที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ระวังเรื่องความรู้สึกเขินอายเวลาต้องถอดชุด

● กิจกรรมการรับประทานอาหาร จัดเตรียมปริมาณอาหารให้พอดีในแต่ละมื้อ ระวังไม่ให้อาหารร้อนจัดเกินไป อาหารสุกสะอาด เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย ได้รับสารอาหารครบถ้วน บางครั้งอาจรับประทานมื้อละน้อยๆแต่ถี่มากขึ้นได้ ไม่ตำหนิ หากทานเลอะเทอะ จัดเตรียมบรรยากาศในการรับประทานอาหารให้ดีตามที่ผู้ป่วยเคยชอบ อาจใช้เครื่องตกแต่งที่มีสีสัน มีการเปิดเพลง หรือทำให้สนุกสนาน หากเป็นไปได้ควรจัดเวลาของครอบครัวให้ได้มีโอกาสรับประทานอาหารร่วมกันบ้าง

● พยายามจัดตารางทำกิจวัตรประจำวัน อาบน้ำ ขับถ่าย ทานอาหาร เข้านอน ที่สม่ำเสมอ และเหมาะกับวิถีชีวิตของผู้ป่วย จะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้สิ่งที่ต้องทำทีละนิด ลดการสับสน ให้รู้สึกเป็นเรื่องสบายๆ ปรับเปลี่ยนได้ในบางครั้งตามความเหมาะสม
ของสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น

2. ช่วยเหลือด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา

● เมื่อจะเริ่มพูดคุย ใช้เสียงที่ดังเพียงพอและนุ่มนวล ควรลดเสียงรบกวนอื่นๆ เช่น ปิดโทรทัศน์ (ขออนุญาตผู้ป่วยก่อน) เรียกความสนใจผู้ป่วยโดยสัมผัสมือหรือต้นแขน อยู่ด้านหน้าผู้ป่วยหรือบริเวณที่เห็นได้ง่าย รักษาระดับใบหน้าให้เท่าๆกันเพื่อให้ผู้ป่วยกำหนดตำแหน่งเจ้าของเสียงได้ง่าย

● ระหว่างการสนทนา อาศัยการสบตา หรือใช้การสัมผัสโดยอาจกุมมือผู้ป่วยไว้เพื่อให้ผู้ป่วยมีสมาธิ บางครั้งอาจต้องพูดอธิบายซ้ำ ให้รู้สึกเป็นเรื่องปกติ เลือกใช้ข้อความสั้นๆ เข้าใจง่าย พูดคุยทีละหัวข้อ อธิบายทีละขั้นตอน ไม่ปนหลายเรื่อง ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล และสังเกตท่าทางของผู้ป่วยไปด้วยว่ารับรู้เข้าใจหรือไม่ไปด้วย

3. ลดความกังวลและความเครียดของผู้ป่วย

● ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และฝึกการรับรู้สิ่งรอบตัว เช่น กำลังอยู่ที่ไหน เป็นวัน เวลาอะไร ได้รับประทานอาหารหรือยัง เพื่อลดการสับสนที่อาจจะเกิดขึ้นในบางครั้ง

● จัดวางสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้ประจำไว้ที่เดิมที่คุ้นเคย สามารถหยิบใช้งานได้สะดวก

● ทำกิจกรรม ชวนดูรูปสมาชิกในครอบครัว หรือการท่องเที่ยวในอดีต ที่ทำให้มีความสุข พร้อมกับกระตุ้นให้นึกชื่อหรือสถานที่ ผู้ดูแลควรทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน อาจใช้เวลานึกคำตอบซึ่งเป็นการฝึกสมองให้ไปหาข้อมูล แต่หากดูยุ่งยากมากเกินไป ควรให้คำใบ้ หรือเปลี่ยนเรื่องไปเลยก็ได้

● เล่นดนตรี ร้องเพลง การสวดมนต์ และการทำกิจกรรมใหม่ๆ ก็เป็นอีกวิธีในการช่วยฝึกกระตุ้นความจำได้

● ชักชวนในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ พยายามพิจารณาจากวิถีชีวิต อาชีพ และสิ่งที่ชอบมาทำ เช่น การเตรียมอาหาร ทำความสะอาดง่ายๆ เดินเล่นนอกบ้าน ชมสวนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ เพื่อให้ผู้ป่วยสดชื่น และยังส่งเสริมการมีกิจกรรมในครอบครัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าและอบอุ่น

4. จัดการกับพฤติกรรมอารมณ์ต่าง ๆ ที่ไม่พึงปรารถนา เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ  ปัญหาการกิน  การนอนเปลี่ยนแปลง  อารมณ์ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เกรี้ยวกราด
โดยใช้หลักการ 4 บ ได้แก่

บอกเล่า เช่น ผู้ป่วยก้าวร้าว ให้บอกหรืออธิบายผู้ป่วยโดยใช้น้ำเสียงนุ่มนวล สบายๆ
บอกซ้ำ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พูดช้า ๆ ที่ละขั้นตอน ด้วยความเข้าใจ
เบี่ยงเบน ไปในเรื่องอื่น หรือกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ โดยไม่ต้องโต้เถียง แม้ว่าผู้ป่วยจะเข้าใจผิด เช่น พาออกไปนั่งรถเล่น  จะทำให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีขึ้น หรืออาจใช้วิธีการตามน้ำในระยะแรก แล้วค่อยเบี่ยงเบนให้ผู้ป่วยทำเรื่องอื่นต่อไป
แบ่งเบา/บำบัด เช่น ใช้วิธีนวดเพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ เปลี่ยนสิ่งกระตุ้นและบรรยากาศให้ดี

5. การดูแลเมื่อมีอาการแทรกซ้อนทางจิตเวช

อาการหวาดระแวง เช่น ระแวงว่ามีคนในบ้านขโมยของ หรือปองร้าย ผู้ดูแลต้องเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ได้ และเป็นจากโรค จึงไม่ควรโต้เถียง แต่ช่วยผู้ป่วยหาของที่คิดว่าถูกขโมยไป หรือเปลี่ยนแปลงความสนใจไปเรื่องที่น่าสนใจเรื่องอื่น

อาการประสาทหลอน เช่น เห็นคนที่เสียชีวิตแล้วมาเยี่ยม หรือได้ยินเวียงแว่ว ควรลองหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ไม่ชัดเจน ที่จะทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย เช่น กระจก รูปปั้น รูปคน ลองวิเคราะห์หาสาเหตุ เช่น การนอนผิดปกติ ผลข้างเคียงจากยา และการขาดน้ำ เป็นต้น หากยังคงผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ดูแล

6. การดูแลโรคประจำตัวอื่น ๆ

(ถ้าผู้ป่วยมีโรคร่วมด้วย) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงให้พยายามควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี ดูเรื่องการทานยาและการติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงกว่าเดิม

7. อาหาร ผู้ดูแลมีบทบาทสำคัญในการดูแลให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์อย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ สารอาหารที่มีการศึกษาว่ามีประโยชน์ต่อการสร้างเสริมการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทและการทำงานของสมอง เช่น

กลุ่มไขมันโอเมก้า3 ที่เป็นโครงสร้างหลักของสมอง
โคลีน มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างเซลล์สมองและการทำงานของสารสื่อประสาท
วิตามินบี และ กรดโฟลิก ช่วยในการทำงานของระบบประสาท
สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันสมองจากอนุมูลอิสระ

8. การออกกำลังกาย และการฝึกเคลื่อนไหวร่างกาย

ผู้ป่วยควรทำการฝึกอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้คงความแข็งแรงของร่างกายและจะทำให้สามารถใช้ส่วนต่างๆของร่างกายได้นานมากขึ้น ผู้ดูแลสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฝึกเคลื่อนไหวทั่วไป และอาจติดตั้งราวสำหรับยึดเกาะ เพื่อช่วยในการเดิน
การลุกยืน และการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง

9. ป้องกันก่อนเกิดปัญหา

● จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย วางของให้เป็นระเบียบ วางในที่เดิมที่ผู้ป่วยคุ้นชิน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ
● จัดเก็บของมีคม ไม่ขีด ไฟแช็ค ไว้ในที่มิดชิด
● จัดเตรียมรูปของผู้ป่วยที่ถ่ายไว้ล่าสุดเพื่อใช้ติดตามกรณีผู้ป่วยสูญหายควรให้ผู้ป่วยพกกระดาษ หรือสร้อยคอ/ข้อมือ ที่ช่วยบอกว่าผู้สูงวัยมีปัญหา ด้านความจำ ระบุหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อกลับและข้อมูลตามความเหมาะสม

ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา