ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
ต้องไม่ลืมดูแลตนเอง

การจะดูแลผู้อื่นได้ดี ควรเริ่มจากดูแลสุขภาพตนเองให้ดีก่อน เพราะการดูแลผู้ป่วย
เป็นเวลานาน หากไม่เข้าใจโรคและธรรมชาติความเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้มีความเครียด
ความกังวลได้ การจะเป็นผู้ดูแลที่ดีควรเริ่มจากการดูแลใส่ใจตนเอง เพื่อให้มีทักษะ
ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ดี และฝึกจัดสรรเวลาในการดูแลสุขภาพกายและใจ
ให้เหมาะสม

1. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ


● รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอ อาจจัดแบ่งเวลารับประทาน

อาหารให้สอดคล้องกับกิจกรรมของผู้ป่วย
● นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
● ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายสามารถทำได้ด้วยกัน
 กับผู้ป่วย เช่น การเดิน การบริหารกล้ามเนื้อ

● ตรวจสุขภาพประจำปีและดูแลโรคประจำตัว(ถ้ามี)

2. ดูแลสุขภาพจิตใจให้สดใส

การดูแลสุขภาพใจของผู้ดูแลเป็นสิ่งสำคัญมากต่อผู้ป่วยสมองเสื่อม เพราะหากผู้ดูแลมีความสบายใจสนุกสนาน
การดูแลผู้ป่วยก็จะทำได้ง่ายและมีความสุข

● หมั่นทำจิตใจให้สดใส ฝึกตนเองให้คิดในแง่บวกเสมอเป็นปกติ
ปล่อยวางและเข้าใจในสิ่งต่างๆที่เราไม่สามารถควบคุมได้ อย่า
ยึดติดกับความถูกต้องทั้งหมด ลองเลือกการสร้างความสัมพันธ์

ที่ดีมีความยืดหยุ่น เพื่อที่จะช่วยให้การดูแลเป็นไปได้อย่างดีโดยตลอด
เช่น ถ้าผู้สูงอายุต้องการจะสวมหมวกเวลานอน ก็ยืดหยุ่นให้ทำได้
หากไม่ได้เป็นสิ่งที่อันตราย

● หมั่นสังเกตตนเองว่ามีสัญญานบ่งบอกถึงภาวะเครียดหรือไม่

นอนไม่หลับ คิดมาก กังวลใจมากจนเกินปกติ
หงุดหงิดง่ายขึ้น ชอบทำปัญหาเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่
ไม่สนุกสนาน ร่าเริง ไร้ซึ่งอารมณ์ขัน
เหนื่อยหน่าย เบื่อ ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากพบปะผู้คน และสังคม
เบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารมากผิดปกติ

หากภาวะเครียดไม่ดีขึ้นหลังจากพยายามปล่อยวางแล้ว ผู้ดูแลควรปรึกษาจิตแพทย์

3. รู้จักแบ่งเวลา ยังคงกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมที่ตนเองชอบ

หากทำได้อาจสลับให้สมาชิกในบ้านช่วยดูแลเป็นครั้งคราว หรือจัดหาผู้ดูแลตามความเหมาะสม แบ่งเวลาพบปะทำกิจกรรมทางสังคม หรืออาจใช้การติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ผ่านโทรศัพท์ ไลน์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต

องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม จัดตั้งขึ้นในรูปแบบที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีจุดประสงค์เพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักถึงและมีความเข้าใจ
ในโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมอื่นๆและช่วยเหลือและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวให้ดีขึ้น
ผู้ดูแลสามารถหาความรู้และติดตามกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้จาก
เวบไซต์ของสมาคม
www.azthai.org

 

สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย เป็นแหล่งรวมความรู้ทางการแพทย์ แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม และกิจกรรมที่น่าสนใจ
สามารถติดตามได้ที่
www.thaidementia.com

ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา

ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
ต้องไม่ลืมดูแลตนเอง

การจะดูแลผู้อื่นได้ดี ควรเริ่มจากดูแลสุขภาพตนเองให้ดีก่อน เพราะการดูแลผู้ป่วยเป็นเวลานาน หากไม่เข้าใจโรคและธรรมชาติความเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้มีความเครียดความกังวลได้ การจะเป็นผู้ดูแลที่ดีควรเริ่มจากการดูแลใส่ใจตนเอง เพื่อให้มีทักษะความเข้าใจในการดูแลสุขภาพที่ดี และฝึกจัดสรรเวลาในการดูแลสุขภาพกายและใจให้เหมาะสม

1. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

● รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอ อาจจัดแบ่งเวลารับประทานอาหารให้สอดคล้องกับกิจกรรมของผู้ป่วย
● นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
● ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายสามารถทำได้ด้วยกันกับผู้ป่วย เช่น การเดิน การบริหารกล้ามเนื้อ
● ตรวจสุขภาพประจำปีและดูแลโรคประจำตัว(ถ้ามี)

2. ดูแลสุขภาพจิตใจให้สดใส

การดูแลสุขภาพใจของผู้ดูแลเป็นสิ่งสำคัญมากต่อผู้ป่วยสมองเสื่อม เพราะหากผู้ดูแลมีความสบายใจสนุกสนานการดูแลผู้ป่วยก็จะทำได้ง่ายและมีความสุข

● หมั่นทำจิตใจให้สดใส ฝึกตนเองให้คิดในแง่บวกเสมอเป็นปกติ ปล่อยวางและเข้าใจในสิ่งต่างๆที่เราไม่สามารถควบคุมได้ อย่ายึดติดกับความถูกต้องทั้งหมด ลองเลือกการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีมีความยืดหยุ่น เพื่อที่จะช่วยให้การดูแลเป็นไปได้อย่างดีโดยตลอด เช่น ถ้าผู้สูงอายุต้องการจะสวมหมวกเวลานอน ก็ยืดหยุ่นให้ทำได้ หากไม่ได้เป็นสิ่งที่อันตราย

● หมั่นสังเกตตนเองว่ามีสัญญานบ่งบอกถึงภาวะเครียดหรือไม่

นอนไม่หลับ คิดมาก กังวลใจมากจนเกินปกติ
หงุดหงิดง่ายขึ้น ชอบทำปัญหาเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่
ไม่สนุกสนาน ร่าเริง ไร้ซึ่งอารมณ์ขัน
เหนื่อยหน่าย เบื่อ ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากพบปะผู้คน และสังคม
เบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารมากผิดปกติ

หากภาวะเครียดไม่ดีขึ้น
หลังจากพยายามปล่อยวางแล้ว
ผู้ดูแลควรปรึกษาจิตแพทย์

3. รู้จักแบ่งเวลา ยังคงกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมที่ตนเองชอบ

หากทำได้อาจสลับให้สมาชิกในบ้านช่วยดูแลเป็นครั้งคราว หรือจัดหาผู้ดูแลตามความเหมาะสม แบ่งเวลาพบปะทำกิจกรรมทางสังคม หรืออาจใช้การติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ผ่านโทรศัพท์ ไลน์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดสมดุลในชีวิต

องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม จัดตั้งขึ้นในรูปแบบที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีจุดประสงค์เพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักถึงและมีความเข้าใจในโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมอื่นๆ และช่วยเหลือและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวให้ดีขึ้น ผู้ดูแลสามารถหาความรู้และติดตามกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้จากเวบไซต์ของสมาคม www.azthai.org

สมาคมโรคสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย เป็นแหล่งรวมความรู้ทางการแพทย์ แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม และกิจกรรมที่น่าสนใจสามารถติดตามได้ที่ www.thaidementia.com

ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา