สัญญานเตือนภาวะสมองเสื่อม

1. มีปัญหาเรื่องความจำ หลงลืมบ่อย เช่น ถามซ้ำบ่อยๆ
จำไม่ได้ว่ากินข้าวหรือยัง ลืมวันนัด
2. ของหายบ่อยๆ หรือวางผิดที่ผิดทาง แล้วเกิดระแวงสงสัยคนรอบตัวว่าขโมยไป
3. ติดขัดในการใช้ภาษา เช่น เรียกชื่อสิ่งของ หรือชื่อคนที่คุ้นเคยไม่ถูก
4. รู้สึกยากลำบากในการทำงานที่ซับซ้อนที่เคยทำอยู่ประจำ เช่น วางแผนการทำงาน
การใช้จ่ายเงินหรือไปธนาคาร
5. ตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ช้า หรือไม่ดีเหมือนเคย
6. มีปัญหาด้านทิศทางและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น หลงทางเมื่อออกนอกบ้านคนเดียว
ขับรถหลงแม้เป็นที่ๆคุ้นเคย
7. สับสนในการลำดับเหตุการณ์ เรื่องราวต่างๆ เวลา และสถานที่
8. สับสนกับป้ายสัญญานที่เห็นอยู่เป็นประจำ เช่น สัญญานไฟแดงไฟเขียว
9. สมาธิสั้น เปลี่ยนเรื่องที่ทำหรือกำลังสนใจได้ง่าย
10.บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ซึมเศร้า แยกตัว เหนื่อยหน่ายในการเข้าสังคม
●  หรืออาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว เห็นภาพหลอน

หากสังเกตุเห็นความผิดปกติของผู้ป่วย หรือคนรอบตัว ควรระลึกถึงความผิดปกติเหล่านี้
และรีบพาผู้ป่วยไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว ก็จะช่วยให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย และ
การดูแลที่เหมาะสมแต่ต้น เพราะโรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

 

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การวินิจฉัยโรคนี้ให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็จะช่วยชะลอ
การดำเนินไปของโรคและช่วยให้ผู้ป่วยคงความสามารถในการดูแลตนเองได้นานมากขึ้น

 

ในปัจจุบันมีผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น รวมถึงภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยอีก
จำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ตระหนักถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เข้าใจผิด
ว่าเป็นอาการปกติของคนสูงอายุ

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

เมื่อมาพบแพทย์และสงสัยว่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ
แพทย์จะดำเนินการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของภาวะสมองเสื่อม

1. ซักประวัติ
   จำเป็นต้องสอบถามโดยละเอียดจากทั้งผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิด เพราะ
   ผู้ป่วยอาจให้ประวัติเองไม่ได้เนื่องจากหลงลืม จึงควรมีญาติหรือ
   ผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่กับผู้ป่วยมานาน และทราบรายละเอียดอย่างดีมา
   พบแพทย์ด้วย

2. ตรวจร่างกายทางระบบประสาท

3. ทำแบบทดสอบการทำงานของสมอง

4. การตรวจเลือด

5. การตรวจภาพถ่ายรังสีสมอง

 

ทั้งนี้กระบวนการในการวินิจฉัยขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ผู้ดูแล

ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา

สัญญานเตือนภาวะสมองเสื่อม

1. มีปัญหาเรื่องความจำ หลงลืมบ่อย เช่น ถามซ้ำบ่อยๆ จำไม่ได้ว่ากินข้าวหรือยัง ลืมวันนัด
2. ของหายบ่อยๆ หรือวางผิดที่ผิดทาง แล้วเกิดระแวงสงสัยคนรอบตัวว่าขโมยไป
3. ติดขัดในการใช้ภาษา เช่น เรียกชื่อสิ่งของ หรือชื่อคนที่คุ้นเคยไม่ถูก
4. รู้สึกยากลำบากในการทำงานที่ซับซ้อนที่เคยทำอยู่ประจำ เช่น วางแผนการทำงานการใช้จ่ายเงินหรือไปธนาคาร
5. ตัดสินใจเรื่องต่างๆได้ช้า หรือไม่ดีเหมือนเคย
6. มีปัญหาด้านทิศทางและความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น หลงทางเมื่อออกนอกบ้านคนเดียว ขับรถหลงแม้เป็นที่ๆคุ้นเคย
7. สับสนในการลำดับเหตุการณ์ เรื่องราวต่างๆ เวลา และสถานที่
8. สับสนกับป้ายสัญญานที่เห็นอยู่เป็นประจำ เช่น สัญญานไฟแดงไฟเขียว
9. สมาธิสั้น เปลี่ยนเรื่องที่ทำหรือกำลังสนใจได้ง่าย
10. บุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ซึมเศร้า แยกตัว เหนื่อยหน่ายในการเข้าสังคม หรืออาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว เห็นภาพหลอน

หากสังเกตุเห็นความผิดปกติของผู้ป่วย หรือคนรอบตัว ควรระลึกถึงความผิดปกติเหล่านี้ และรีบพาผู้ป่วยไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว ก็จะช่วยให้ได้รับการตรวจวินิจฉัย และการดูแลที่เหมาะสมแต่ต้น เพราะโรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

 

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การวินิจฉัยโรคนี้ให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคและช่วยให้ผู้ป่วยคงความสามารถในการดูแลตนเองได้นานมากขึ้น

 

ในปัจจุบันมีผู้ที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น รวมถึงภาวะความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ตระหนักถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เข้าใจผิดว่าเป็นอาการปกติของคนสูงอายุ

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์

เมื่อมาพบแพทย์และสงสัยว่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ แพทย์จะดำเนินการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของภาวะสมองเสื่อม

1. ซักประวัติ

จำเป็นต้องสอบถามโดยละเอียดจากทั้งผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิด เพราะผู้ป่วยอาจให้ประวัติเองไม่ได้เนื่องจากหลงลืม จึงควรมีญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยที่อยู่กับผู้ป่วยมานาน และทราบรายละเอียดอย่างดีมาพบแพทย์ด้วย

2. ตรวจร่างกายทางระบบประสาท
3. ทำแบบทดสอบการทำงานของสมอง
4. การตรวจเลือด
5. การตรวจภาพถ่ายรังสีสมอง

 

ทั้งนี้กระบวนการในการวินิจฉัยขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ผู้ดูแล

ตรวจทานโดย นายแพทย์ อดิศักดิ์ กิตติสาเรศ
ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม สาขาประสาทวิทยา

[floating_div_ps name=”sample-of-souvenaid”]